โครงการ AsiFood แบ่งออกเป็นชุดโปรแกรม Work Pac-kages (WP) แปดชุด สามชุดเป็นการเตรียมการ (WP1) การจัดการ (WP8) และการจัดการด้านการประกันคุณภาพ (WP7) อีกห้าชุดเน้นด้านเทคนิคของโครงการ WP2 และ WP5 การพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในภาคการผลิต/อุตสาหกรรม และสถาบันอุดมศึกษา WP3 และ WP4 การพัฒนารายวิชาและหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับ ความปลอดภัยอาหารและการจัดการคุณภาพอาหารที่สอด รับกับความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วน เสียในภาคการผลิต/อุตสาหกรรม WP6 การเผยแพร่ผล การดำาเนินงานของโครงการไปยังสถาบันอุดมศึกษาอื่นๆใน อาเซียน
ชุดโครงการแต่ละชุดนำาโดยสถาบันอุดมศึกษา ที่มีความ เชี่ยวชาญหรือประสบการณ์ในสาขาวิชานั้นๆ

  • WP2 & 5: การพัฒนาความ สัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใน ภาคการผลิต/อุตสาหกรรม
  • WP3 & WP4: การพัฒนาและ ปรับหลักสูตรการสอนที่เกี่ยวข้อง กับความปลอดภัยอาหารและ คุณภาพอาหารให้ทันสมัย
  • WP6: การส่งเสริมและการทำาให้ โปรแกรมยั่งยืน

college student in the library

 

WP1: การเตรียมการ

สัญญาของโครงการและสถาบันสมาชิกมีการลงนามใน เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ระหว่าง Montpellier SUPAGro และมหาวิทยาลัยที่ร่วมโครงการทั้งหมด และ ฉบับอื่นๆ มีการลงนามหลังจากนั้นเป็นต้นมา มีการกำาหนด ทีมงานเพื่อรับหน้าที่ในกิจกรรมสำาคัญของโครงการใน ระหว่างการจัดประชุมกรรมการดำาเนินงาน (Sc1) ครั้งที่ 1 ที่จัดขึ้นที่ฮานอยในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2559 ในระหว่าง การประชุมนั้น มีการตกลงเกี่ยวกับวิธีการทำางานและการ สื่อสารที่จะใช้ตลอดโครงการ ได้รับการฝึกอบรมด้าน กระบวนการบริหารและการเงิน รวมทั้งกฎระเบียบที่จำาเพาะ และโปรแกรมที่สนับสนุนทุนโดย erasmus Plus ตัวแทน จาก BoKU (ผู้นำาชุดโครงการ WP7) ร่วมอธิบายโครงการ และอภิปรายวิธีการประเมิน (ตัวชี้วัด รายงาน เป็นต้น)

WP2 & 5: การพัฒนาความ สัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใน ภาคการผลิต/อุตสาหกรรม

งานนี้มีสองระยะคือ

  • การสำารวจเพื่อประเมินความสัมพันธ์ที่มีอยู่แล้วระหว่าง สถาบันอุดมศึกษาและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในภาคการ ผลิต/อุตสาหกรรม (ของรัฐและเอกชน) มีการพัฒนา กลยุทธ์ในการดำาเนินการสำารวจและแบบสอบถาม ร่วมกันในระหว่างการประชุมผ่านทางวีดิโอ มีการ สัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างน้อยที่สุด 160 คน ผลที่ได้ก็นำาไปเสนอต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในภาคการ ผลิต/อุตสาหกรรมต่างๆ มีการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติ การที่สำาคัญหนึ่งครั้งสำาหรับคณบดีจากมหาวิทยาลัย ที่ร่วมโครงการแต่ละแห่ง (กิจกรรม 2.7) เรื่อง “การ จัดการความเปลี่ยนแปลง” (change Manage-ment) เพื่อพัฒนาหลักสูตรที่เหมาะสมกับความจำาเป็น และความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในภาคการ ผลิต/อุตสาหกรรม และทำาให้เกิดความพร้อมที่จะได้รับ การจ้างงานของบัณฑิต
  • แผนการทำางานของ WP5 ดำาเนินการหลังจากการ ประชุมคณะกรรมการดำาเนินงานครั้งที่สอง (Sc2) มี การวางแผนล่วงหน้าเกี่ยวกับกิจกรรมที่ต้องดำาเนินการ ได้แก่ การสร้างแบบสำารวจที่เกี่ยวข้องกับการบรรจุ เข้าทำางาน (กิจกรรม 5.2) การปรับปรุงวิธีการทำางาน ที่เกี่ยวข้องกับการบรรจุเข้าทำางาน (กิจกรรม 5.3) และการประชุมสัมมนาเพื่อแบ่งปันประสบการณ์เกี่ยว กับการปฏิบัติด้านการจัดหาพนักงานและการบรรจ พนักงาน (กิจกรรม 5.4)

WP3 & WP4: การพัฒนาและ ปรับหลักสูตรการสอนที่เกี่ยวข้อง กับความปลอดภัยอาหารและ คุณภาพอาหารให้ทันสมัย

การพัฒนาโปรแกรมฝึกอบรมที่เหมาะสมเป็นหัวใจของ การเสริมสร้างความแข็งแกร่งของความสัมพันธ์ระหว่างผู้มี ส่วนได้ส่วนเสียในภาคการผลิต/อุตสาหกรรม และสถาบัน อุดมศึกษา วัตถุประสงค์หลักของงานที่ทำาใน WP3 คือ การทำาให้มหาวิทยาลัยสามารถสร้างทักษะที่จำาเป็นในด้าน การควบคุมความปลอดภัยอาหารและคุณภาพอาหารด้วย วิธีการแบบมีส่วนร่วม ตามด้วยการจัดทำาข้อเสนอแนะ สำาหรับการจัดทำาหลักสูตร (กิจกรรม 3.6) ที่สำาคัญที่สุดก็ คือ วัตถุประสงค์ที่จะประยุกต์ใช้วิธีการที่จะทำาให้ประสบ ผลสำาเร็จในการระบุความต้องการการฝึกอบรมและการ ออกแบบหลักสูตร
โครงการ AsiFood เสนอการสร้างโมดุลสำาหรับการฝึก อบรมสามโมดุล แต่ละโมดุลมีหน่วยกิต ectS ระหว่าง 5- 15 ectS สาขาวิชาที่ระบุในระหว่างการเขียนโครงร่าง (ก่อนกุมภาพันธ์ 2558) คือ

  •  ความปลอดภัยอาหารและการจัดการคุณภาพต้นน้ำ  ของห่วงโซ่อาหาร
  • การวิเคราะห์ความปลอดภัยอาหารและการจัดการ คุณภาพอาหาร
  • ความปลอดภัยอาหารและการจัดการคุณภาพอาหารใน
    โรงงานแปรรูปอาหาร

นการสร้างโมดุลมีการดำาเนินงานโดยคณะทำางานท ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญสี่คน (จากสหภาพยุโรป ไทย กัมพูชาและเวียดนาม) (กิจกรรม 4.1 และ 4.5) มีการ กำาหนดเงื่อนไขในการโอนหน่วยกิตของแต่ละโมดุลไป ยังสถาบันอุดมศึกษาที่ร่วมโครงการหลังจากการรับรอง โมดุลและหลักสูตรโดยสถาบันที่ร่วมโครงการแต่ละแห่ง (กิจกรรม 4.6) และการบูรณาการโมดุลในหลักสูตร ปริญญาโทที่มีอยู่หรือที่สร้างขึ้นใหม่ (กิจกรรม 4.7) เพื่อที่ จะวางแผนการสร้างหลักสูตรเหล่านี้ อาจารย์ 24 คน เดิน ทางไปประเทศในสหภาพยุโรปเพื่อรับการฝึกอบรมท้ังด้าน วิชาการ (กิจกรรม 4.3) และวิธีการสอนแบบใหม่ (กิจกรรม 4.4) เมื่อกลับมายังประเทศของตน อาจารย์เหล่านี้ก็ยังคง ติดต่อกับกลุ่มทำางาน แต่ละสถาบันอุดมศึกษาจัดซื้ออุปกรณ์ ที่จำาเป็นสำาหรับกิจกรรมการสอนและฝึกอบรม (กิจกรรม 4.8) แม้ว่าแต่เดิมนั้น นักศึกษากลุ่มแรกควรเข้าเรียน หลักสูตรปริญญาโท (ประมาณสถาบันละ 20 คน) จะต้อง เริ่มการศึกษาในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2560 แต่เวลาที่ได้ เริ่มเรียนจริงก็คือภาคการศึกษาแรกของปี พ.ศ. 2561

WP6: การส่งเสริมและการทำาให้ โปรแกรมยั่งยืน

วิธีการสอนสามวิธีได้มีการพัฒนาเป็นรายวิชาการฝึกอบรม ด้านเทคนิคระยะสั้น (Sttc) (กิจกรรม 6.2) แต่ละ รายวิชาอาจใช้เวลาได้ถึงหกวัน มีการสอนรวมทั้งประเมิน อย่างน้อยหนึ่งครั้งในแต่ละสถาบันอุดมศึกษา (กิจกรรม 6.3) การฝึกอบรมสามครั้งแรกสอนโดยผู้เชี่ยวชาญจากทั้ง สหภาพยุโรปและ Ait โดยรายวิชาหนึ่งนั้นได้พัฒนาเป็นโม ดุล e-learning ซึ่งปัจจุบันเข้าถึงได้ที่เว็บไซต์ของโครงการ AsiFood และมีการจัดทำาอีกสองรายวิชาออนไลน์ รายวิชา หนึ่งนั้นเกี่ยวกับอุปกรณ์การสอน (กิจกรรม 5.5 และ 6.1) และอีกรายวิชานั้นเกี่ยวกับการศึกษาความต้องการของผู้มี ส่วนได้ส่วนเสียด้านความรู้ที่ต้องการให้มีการสอนหรือฝึก อบรมและการออกแบบรายวิชา (กิจกรรม 6.5 และ 6.6) แต่เดิมนั้น วางแผนให้การฝึกอบรมเหล่านี้ใช้ภาษาอังกฤษ และฝรั่งเศส แต่ในความเป็นจริงไม่มีการใช้ภาษาฝรั่งเศส ในการสอนหลักสูตรปริญญาโท แม้แต่ที่ itc หรือ HUSt ด้วยเหตุนี้ หลักสูตรฝึกอบรมจึงเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น
โมดุลธุรกิจสำาหรับการฝึกอบรมทั้งหมด (Sttcs) มีการ ระบุรายละเอียดที่ชัดเจน เพื่อแต่ละมหาวิทยาลัยที่ร่วม โครงการสามารถตัดสินใจดำาเนินการได้ บนพื้นฐานของ งบประมาณของแต่ละมหาวิทยาลัย เพื่อประกันว่าหลักสูตร เหล่านั้นจะยั่งยืน
ในฐานะผู้ประสานงานโครงการ Montpellier SupAgro มีความรับผิดชอบจำาเพาะ นอกเหนือจากการมีส่วนร่วม ด้านเทคนิคในการฝึกอบรมอาจารย์ การพัฒนาโมดุล การ สร้างสรรค์โมดุล e-learning แล้ว Montpellier SupAgro ยังรับผิดชอบการประสานงานและการจัดการโครงการ AsiFood (WP1 และ WP8) ซึ่งมีมหาวิทยาลัยในโครงการ ท่ีมีประสบการณ์และทักษะตรงกับงานเป็นผู้ดำาเนินการ จัดการแต่ละ Work Package และมหาวิทยาลัยในโครงการ ส่งตัวแทนเป็นผู้รับผิดชอบในการประสานกิจกรรมภายใน ของแต่ละสถาบันทั้งในด้านเทคนิคและการเงิน